วิถีชีวิตแบบด่วนๆเร็วๆเหล่านี้ล้วนมาจากความบีบคั้นทั้งนั้น
ระบบทุนนิยมบีบให้เราต้องรีบ ต้องเสียเวลาให้น้อยที่สุด ทำงานให้ได้มากที่สุด
ทำงานให้ได้ดีที่สุด
และความรวดเร็วที่เราเสพจนเคยชินนี่เองทำให้อารมณ์ของผู้คนมันแกว่งง่ายและรุนแรง
เอะอะอะไรนิด ก็ไม่พอใจแล้ว อะไรกระทบหน่อยก็ฆ่ากันแล้ว
นอกจากนี้สันดานที่ชอบของสำเร็จรูปนั้นก็ทำให้เราขาดการพึ่งตนเอง
ทักษะในการพึ่งพาตนเองแย่มาก ไม่เชื่อไปถามคนเมืองดูสิครับ
มีสักกี่คนที่หุงข้าวทำกับข้าวกินเองเป็น น้อยมากครับ
เราชอบที่จะออกไปซื้ออะไรอร่อยๆมากินกัน
แสวงหาสุดยอดร้านอาหารแล้วไปกินกัน บางทีวิ่งข้ามจังหวัดไปกินข้าวมื้อเดียวก็มี
เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรเชื้อเพลิงโดยใช่เหตุ
หรือไม่เชื่อลองไปดูช่วงสงกรานต์ในกทม.สิครับ ร้านอาหารแถวๆบ้านปิดกันเงียบกริบ
พอไม่มีอะไรจะกินก็ต้องวิ่งแจ้นเข้าห้างสรรพสินค้า
ไม่ใช่แค่อาหารนะครับ
สินค้าอุปโภคทั้งหลายก็ยังทำทุกอย่างให้มันสำเร็จรูปมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นัยยะของเขาคือให้ลูกค้าสะดวกสบายที่สุด แต่นัยยะที่แฝงเร้นคือ
ลูกค้าจะกลายเป็นคนอ่อนแอพึ่งตนเองไม่ได้ไปในที่สุด
ทุกวันนี้เราจึงเห็นคนจำนวนมากมาย ทำสิ่งต่างๆไม่เป็น เก่งอย่างเดียวคืองานของตน
นอกจากกงานก็ซื้ออย่างเดียว ใช้เงินทำงานให้อย่างเดียว
จนทักษะการพึ่งพาตนเองหายไปในที่สุด
ยอมรับครับว่าใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนพวกนี้แล้วเหนี่อย มีอะไรก็ใช้ให้เราทำตลอด
ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่นะครับ
เด็กสมัยนี้ก็ถูกเลี้ยงแบบนี้เหมือนกัน ทำอะไรเองไม่เป็น ประมาณว่า
เรามีเงินก็ใช้ให้คนอื่นทำลูก ไม่ต้องลำบาก เรียนหนังสือไปเถอะ
เรียนให้เก่งๆจะได้ทำงานเงินเดือนดีๆ
เราก็เลยได้เด็กกึ่งสำเร็จรูปพิการด้านพึ่งพาตนเองอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง
พอทักษะการพึ่งพาตนเองหายไปจนหมด
ทีนี้ก็เสร็จพวกผู้ผลิตสินค้าสิครับ เพราะพอพึ่งตนเองไม่ได้ก็ต้องซื้อ
ผู้ผลิตสินค้าก็หัวใส คิดสินค้าหลากหลายรูปแบบออกมายั่วกิเลสให้อยากได้
ไอ้พวกที่อยากได้อยากมีนี่ก็ไม่รู้ไปทำกรรมอะไรมา
พอถูกกระตุ้นเข้าหน่อยเป็นต้องควักเงินซื้อมันทุกอย่าง
ทั้งๆที่บางอย่างมันไม่จำเป็น(แต่ก็หาข้ออ้างบอกว่าจำเป็น
ทั้งๆที่เห็นอยู่ตำตาว่ามันสนองกิเลสตัวเองทั้งนั้น) ด้วยหตุนี้
คนเมืองหรือคนรุ่นใหม่ๆจึไม่เพียงแต่ขาดทักษะการพึ่งตนเองเท่านั้น
แต่ยังขาดภูมิคุ้มกันต่อตัณหาตัวเองด้วย ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ถือเป็นเหตุใหญ่แห่งทุกข์เลยก็ว่าได้
ใครที่พอจะทราบเรื่องราวเกี่ยวกับระบบแรงงานในยุโรปก็คงจะเคยได้ยินข่าวกันบ่อยๆว่า
ยุโรปได้ลดจำนวนชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ลงอย่างต่อเนื่อง
แต่งานนี้ดันไปสวนทางกันกระแสทุนนิยมที่เห็นมนุษย์เป็นเพียงทุนแรงงาน
ซึ่งทำให้ต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้น คนยุโรปเลยโดนข้อหาขี้เกียจไปด้วย
ซึ่งไม่ใช่นะครับ
จริงๆเขาเริ่มรู้สึกกันแล้วว่าไอ้ที่ทำงานหนักในระบบนี่มันไม่ใช่ชีวิต
มันจึงกลายเป็นความขัดแย้งที่ไม่ลงตัว
ยุโรปถึงได้มีหนี้สาธารณะท่วมประเทศอยู่นี่ไง คืออยากใช้ชีวิตบนมาตรฐานที่ดี
แต่ดันไม่พึ่งตัวเอง กลับไปพึ่งระบบ รัฐก็อุ้มอานสิครับ แบบนี้ไปไม่รอดหรอก
ไอ้สันดานสำเร็จรูปนี่แก้ยากครับ
พอติดสบายไปทีแล้วแงะออกยากมากๆ ผมเห็นมีกลุ่มคนที่คิดเรื่อง slow life จนกลายเป็น lifestyle
แบบหนึ่งขึ้นมา จริงๆแล้วนั่นมันแก้ไขได้แค่รูปแบบครับ
จิตใจข้างในอาจจะพลุ่งพล่านไม่ slow ก็ได้ แต่ทำไปเพราะเท่ห์ดี...ชีวิตช้าช้า
ซึ่งไอ้สไตล์แบบนี้มันใช้ได้แค่วันหยุดพักผ่อนครับ
แต่พอกลับมาในระบบทุนนิยมก็วิ่งจู๊ดหางจุกตูดกันอีกแล้ว
เพราะถ้าไม่วิ่งเดี๋ยวเจ้านายเขม่นเอา(หรือว่าไม่จริง 555)
นี่เป็นเพียงอีกแง่มุมหนึ่งที่ระบบทุนนิยมทำลายสมดุลชีวิตของเราครับ
ยังมีความดำมืดอีกมากมายที่เรามองไม่เห็น ก็ติดตามตอนต่อไปแล้วกัน
No comments:
Post a Comment